วันที่ 24 ก.ค. 2566 พ.ต.ท. กีรป กฤตธีรนนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงถึงกรณีที่ได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีนาย "วันมูหะมัดนอร์ มะทา" ประธานรัฐสภา ได้ดำเนินการตามข้อบังคับในที่ประชุมตามที่ข้อประชุม 151 ขอให้สมาชิกลงมติวินิจฉัยว่าเป็นการเสนอญัตติซ้ำหรือไม่ ซึ่งที่ประชมุมีมติ 395 เสียง ต่อ 312 เสียง งดออกเสียง 8 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง
สรุปว่าการเสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 ขัดต่อข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อที่ 41 ทำให้ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลดังกล่าวอีกต่อไปในสมัยการประชุมนี้
ผู้ตรวจการแผ่นดิน ถกด่วน! ปมเสนอชื่อ “พิธา” ชิงนายกฯรอบ 2 ลุ้นส่งศาลรธน.ตีความ
โหวตนายก : เปิดรายชื่อ ส.ว.เห็นชอบ โหวต "พิธา" เป็นนายกรัฐมนตรี
นับตั้งแต่ 19 ก.ค. เป็นต้นมาก็เป็นที่ทราบกันดีว่าทั้งในรัฐสภา นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปมีความสงสัยว่าการดำเนินการของรัฐสภาขัดแย้งรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็ได้มอบหมายให้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินติดตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของรัฐสภาดังกล่าว
จนกระทั่งเมื่อศุกร์ที่ผ่านมา ( 21 ก.ค.) ก็ได้มีสมาชิกรัฐสภาและประชาชนทั่วไปยื่นคำร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินให้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว และ ตอนนี้ก็ได้รับเรื่องทั้งสิ้น 17 คำร้องในคำร้องเหล่านั้นก็มีคำขอที่สำคัญที่ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณา 2 เรื่อง ประกอบด้วย
ประเด็นที่ 1.การกระทำของรัฐสภาที่มีมติไม่ให้มีการเสนอรายชื่อบุคคลเพื่อเห็นชอบให้เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น เป็นการเสนอญัตติซ้ำ อันเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
ประเด็นที่ 2. ผู้ร้องเรียนมีความประสงค์ที่จะให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีคำขอไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ออกมาตรการ หรือ วิธีการชั่วคราวเพื่อให้ชะลอการเห็นชอบบุคคลที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ไว้ชั่วคราวก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย
พ.ต.ท. กีรป กล่าวว่า จากที่ผู้ตรวจการแผ่นดินติดตามข้อมูลข่าวสารก็รับทราบว่าในวันที่ 27 ก.คคำพูดจาก เว็บสล็อตลิขสิ. นี้ ทางรัฐสภาได้ประกาศว่า จะมีการลงมติให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กรณีนี้ผู้ตรวจการแผ่นดินทุกท่านก็มีความเห็นว่า เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ควรพิจารณาให้เสร็จสิ้นก่อนจะมีการนัดประชุมครั้งต่อไป วันนี้ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินได้หารือและเห็นชอบร่วมกัน โดยมีมติดังต่อไปนี้
ในประเด็นที่ 1 “ ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นชอบว่า การดำเนินการของรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 ก.ค. ซึ่งเป็นหน่วยงาน ที่ใช้อำนาจรัฐมีการกระทำขัด หรือ แย้งรัฐธรรมนูญตามมาตรา 88 มาตรา 159 มาตรา 272 ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงมีมติร่วมร่วมกันให้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าว ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญหรือไม่”
สำหรับประเด็นที่ 2 ผู้ตรวจการแผ่นดินได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวมีลักษณะขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญ และหากปล่อยให้มีดำเนินการคัดเลือกหรือให้ความเห็นชอบบุคคลผู้จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว หากมีการดำเนินการใดๆต่อไปก่อนที่ศาลจะมีคำวินิฉัย ก็อาจจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศและยากที่จะเยียวยาแก้ไข
“ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงมีความเห็นชอบร่วมกัน เห็นด้วยกับคำร้องเรียนที่จะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดมาตราการ หรือวิธีการชั่วคราว เพื่อให้ชะลอการให้ความเห็นชอบผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ออกไปก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยว่า การเสนอชื่อบุคคลที่จะเป็นนายกซ้ำในวันที่ 19 ก.ค. นั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือใม่ โดยจะมีการยื่นก่อนวันนัดประชุมสภาวันที่ 27 ก.ค.นี้”