จากกรณีที่ร้านอาหารชื่อดังแห่งหนึ่ง ได้จดสิทธิบัตร “ปังชา” จนสังคมให้ความสนใจว่า เมนูขนมน้ำแข็งไสที่มีขนมปังและราดด้วยชาไทยยังสามารถขายอยู่ทั่วไปได้หรือไม่ ผู้ประกอบการร้านอาหารที่มีเมนูลักษณะนี้ต้องทำอะไรต่อบ้าง กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ออกมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว ถึงทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภท และการจดสิทธิบัตรปังชาที่เกิดขึ้น เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทใด
สิทธิบัตร
คือการขอรับความคุ้มครองผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นสูตรการทำ กรรมวิธี รูปร่างของอาหาร ไปจนถึงรูปร่าง ลวดลาย หรือสี ของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเหล่านี้จะถูกจัดให้อยู่ในสิทธิบัตรต่างชนิดกัน ได้แก่:
- สิทธิบัตรการประดิษฐ์ – การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่มีความซับซ้อน หรือมการแก้ไขปัญหาทางเทคนิค เช่น กระบวนการฆ่าเชื้อสเตอริไลซ์สำหรับอาหาร นมปราศจากแลกโตส ฯลฯ
- อนุสิทธิบัตร – การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ที่มีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น แต่ไม่มีความซับซ้อนทางเทคนิคมากนัก เช่น สูตรเจลสำหรับพกพา เครื่องผลิตน้ำแข็งไสแบบเกล็ดละเอียด ฯลฯ
- สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ – การคุ้มครองรูปร่าง ลวดลาย หรือองค์ประกอบของสี เช่น รูปร่างของขนมที่มีลักษณะพิเศษ ลวดลายของกล่องบรรจุอาหาร ฯลฯ
คำพูดจาก ปั่นสล็อตแตกทุกเกม
ซึ่งสำหรับกรณีปังชาที่เกิดขึ้นนั้น กรมทรัพย์สินทางปัญญาระบุว่า “น้ำแข็งไสราดชาไทยมีขายมานานแล้ว จึงไม่มีใครสามารถจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร แล้วเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในเมนูนี้ได้ แต่ภาชนะที่ใช้ใส่ปังชาของแบรนด์ที่เป็นข่าว มีการจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เอาไว้”
พูดโดยง่ายก็คือ ใคร ๆ ก็ยังคงสามารถขายปังชาหรือน้ำแข็งไสราดชาไทยได้ แต่ห้ามใช้ลวดลายหรือรูปแบบภาชนะที่ร้านอาหารดังกล่าวจดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้เท่านั้นเอง
ลิขสิทธิ์
คือความคุ้มครองทางกฎหมายที่ให้แก่เจ้าของผลงาน ที่เกิดจาการใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการคุ้มครองลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นทันที่ที่มรการสร้างสรรค์ผลงานโดยไม่ต้องจดทะเบียน
ประเภทของงานที่ถือว่ามีลิขสิทธิ์ ได้แก่ นวรรณกรรม งานนาฏกรรม งานศิลปกรรม งานดนตรีกรรม งานโสตทัศนวัสดุ งานภาพยนตร์ งานสิ่งบันทึกเสียง งานแพ่เสียงแพร่ภาพ และงานอื่น ๆ ในแผลกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ
หากถามว่าเรื่องของลิขสิทธิ์จะมีความเกี่ยวข้องกับร้านอาหารหรือไม่นั้น ตัวอย่างก็เช่น ภาพถ่ายที่แสดงสินค้า ลวดลาย และรูปเล่มเมนูอาหาร ลวดลายหรือภาพวาดบนภาชนะ เหล่านี้ถือว่าได้รับความคุ้ครองลิขสิทธิ์ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ การนำภาพวาดหรือภาพถ่ายของผู้อื่นไปใช้ ต้องได้รับอนุญาตตากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนเสมอ ภาพวาดหรือภาพถ่ายที่ทำขึ้นด้วยตัวเอง แม้จะออกมาคล้ายกันเพราะเป็นมุมเดียวกัน แนวคิดเดียวกัน ก็ไม่ถือว่าเป็นดารละเมิดลิขสิทธิ์ของใคร
เครื่องหมายการค้า
คือ ชื่อ ข้อความ โลโก้ ภาพ กลุ่มของสีหรือเสียง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ที่นำมาใช้เพื่อสร้างความจดจำของผู้บริโภคในการแยกแยะแบรนด์ต่าง ๆ
แต่เครื่องหมายการค้าคุ้มครองได้ตามรูปบบที่จดทะเบียนไว้เท่านั้น หากข้อความหรือภาพบางส่วนที่สื่อถึงคุณสมบัติหรือคุณภาพของสินค้าและบริการ ข้อความหรือภาพนั้นต้องถูกสละสิทธิ แต่ยังปรากฏบนเครื่องหมายการค้านั้นได้
การสละสิทธิ หมายถึง ไม่สามารถห้ามคนใช้ข้อความหรือภาพนี้ในลักษณะอื่น แต่ถ้านำมาจัดวางในรูปแบบที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอาไว้ และเป็นสินค้าหรือบริการที่ใกล้เคียงกัน ยังสามารถห้ามได้อยู่
ข้อความหรือภาพที่แม้จะสื่อถึงคุณสมบัติหรือคุณภาพของสินค้าอาจเป็นครื่องหมายการค้าก็ได้ หากนำสืบได้ว่ามีการใช้มาต่อเนื่องยาวนานจนผู้บริโภคจดจำและแยกได้ว่าเป็นแบรนด์ของสินค้า
ในกรณีของปังชาที่เกิดขึ้น ทุกคนยังสามารถใช้คำว่า “…ปัง…ชา…” หรือ “…ปังชา…” กับเมนูน้ำแข็งไสราดชาไทยได้ แต่ไม่ควรใช้รูปแบบฟอนต์ตัวหนังสือที่ทำให้นึกถึงแบรนด์นั้น ๆ
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา